คำอธิบาย/แนวทางการปฏิบัติ
1. แปลงผลิตต้องอยู่ห่างจากแหล่งก่อเกิดมลพิษเช่นถนนที่รถสัญจรมากบ่อขยะต้องมีมาตรการป้องกันการปนเปื้อนที่อาจมาจากทางดินน้ำอากาศเพื่อป้องกันการปนเปื้อนจากแปลงข้างเคียงหรือแหล่งมลพิษโดยวิธีการจะต้องเหมาะสมกับความเสี่ยงที่จะเกิดการปนเปื้อนเช่นสิ่งกีดขวางทำคันกั้นหรือปลูกพืชเป็นแนวกันชนการเบี่ยงทางน้ำไหล
ควรมีการดำเนินการป้องการปนเปื้อนดังนี้
มาตรการป้องกันการปนเปื้อนที่อาจมาจากทางดินเช่นการวิเคราะห์คุณสมบัติดินปริมาณโลหะหนักหรือสารพิษตกค้างในดินกรณีมีความเสี่ยงหรือในพื้นที่น้ำท่วมหลากเกินกว่า ๓๐ วัน
มาตรการป้องกันการปนเปื้อนที่อาจมาจากทางน้ำเช่นการทำคันดินล้อมรอบแปลงการทำร่องระบายน้ำการขุดสระกักเก็บน้ำในพื้นที่กรณีการใช้น้ำจากแม่น้ำลำคลองหรือคลองชลประทานควรทำบ่อพักน้ำปลูกพืชที่มีระบบดูดซับน้ำในระบบการพักน้ำหรือบำบัดด้วยรางพืชวิธีตกตะกอนวิธีการใช้แสงแดดการบำบัดด้วยภูมิปัญญาท้องถิ่นก่อนนำไปใช้ในแปลงอินทรีย์เก็บตัวอย่างน้ำตรวจสอบคุณภาพน้ำกรณีมีความเสี่ยงต่อการปนเปื้อน
มาตรการป้องกันการปนเปื้อนที่อาจมาจากทางอากาศเช่นการปลูกพืชเป็นแนวกันชนที่สามารถป้องกันการแพร่กระจายของสารเคมีจากแปลงข้างเคียงเข้ามายังแปลงอินทรีย์โดยมีขนาดกว้างไม่น้อยกว่า 1 เมตรทั้งนี้ให้พิจารณาวิธีการปฏิบัติในแปลงข้างเคียงร่วมด้วยกรณีแปลงอยู่ใกล้ถนนที่รถสัญจรมากให้เว้นระยะห่างจากถนนอย่างน้อย 3 เมตรและปลูกพืชเป็นแนวกันชน
2. ต้องรักษาสภาพธรรมชาติของพื้นที่เดิมเช่นการรักษาพืชธรรมชาติเป็นแนวรั้วหรือพืชท้องถิ่นในพื้นที่ไม่ได้ใช้ประโยชน์ให้เป็นที่อยู่อาศัยของพืชสัตว์ประจำถิ่นหรือปลูกต้นไม้เป็นแนวรั้วมีชีวิตหรือรักษาสภาพหนองน้ำธรรมชาติเป็นต้นผู้ผลิตต้องปกป้องและป้องกันการชะล้างหน้าดินไม่ขุดหรือทำให้เกิดการสูญเสียหน้าดินหากแปลงอินทรีย์มีการขุดหน้าดินต้องมีระยะปรับเปลี่ยนการปลูกพืชในระบบอินทรีย์เป็นระยะเวลา ๓ ปีและมีการฟื้นฟูสภาพดินด้วยวิธีธรรมชาติเช่นการใช้วัสดุปรับปรุงดินปูนมาร์ลโดโลไมท์หินปูนบดเมล็ดพันธุ์พืชปุ๋ยสดที่มีการกำจัดสารเคมีออกก่อนนำไปใช้ปุ๋ยหมักปุ๋ยคอกที่ผ่านการหมักสมบูรณ์แล้วจุลินทรีย์ที่ได้รับการรับรองให้ใช้ในระบบเกษตรอินทรีย์
3. ผู้ผลิตต้องสร้างความหลากหลายของชนิดพืชที่ปลูกผู้ผลิตต้องมุ่งเน้นใช้ปัจจัยการผลิตภายในฟาร์มให้มากที่สุดเพื่อให้เกิดการหมุนเวียนธาตุอาหารในดินอย่างต่อเนื่องเพื่อฟื้นฟูความอุดมสมบูรณ์ของดินและหมุนเวียนธาตุอาหารในดินต้องรักษาหรือเพิ่มระดับความอุดมสมบูรณ์ของดินและกิจกรรมทางชีวภาพที่เป็นประโยชน์ในดินดังนี้
(1) การปลูกพืชตระกูลถั่วเช่นปอเทืองโสนถั่วพุ่มถั่วมะแฮะและไถกลบเพื่อเป็นปุ๋ยพืชสดบำรุงดินการใช้พืชรากลึกในการปลูกหมุนเวียน
(2) การใส่วัสดุอินทรีย์ที่เป็นผลพลอยได้จากแปลงปลูกพืชหรือฟาร์มปศุสัตว์ที่ปฏิบัติตามมาตรฐานนี้ที่เป็นประโยชน์ต่อกิจกรรมของสิ่งมีชีวิตตลอดจนจุลินทรีย์เช่นปุ๋ยคอก (ที่ผ่านการหมักที่สมบูรณ์แล้ว) ปุ๋ยหมักน้ำหมักชีวภาพหรือสารอินทรีย์ธรรมชาติที่กลุ่มยอมรับได้ควรได้มาจากกิจกรรมหรือผลพลอยได้ภายในฟาร์มที่เป็นเกษตรอินทรีย์เพื่อทดแทนสารอาหารในดิน หากวิธีที่ระบุในข้อ (1) และข้อ (2)ไม่เพียงพอต่อการเพิ่มธาตุอาหารในดินหรือไม่สามารถหาวัสดุอินทรีย์ที่ได้จากการปฏิบัติตามมาตรฐานนี้เพียงพออาจใช้วัสดุปรับปรุงดินอื่น ๆ ที่ระบุในภาคผนวกได้หากต้องนำอินทรียวัตถุที่ใช้บำรุงดินมาจากภายนอกต้องได้มาจากระบบฟาร์มอินทรีย์หรือเป็นวัสดุอินทรีย์ที่ได้รับการรับรองว่าเป็นผลิตภัณฑ์อินทรีย์จากหน่วยรับรองแล้วเป็นไปตามภาคผนวกและต้องได้รับการยอมรับจากกลุ่ม
(3) การเร่งปฏิกิริยาของปุ๋ยอินทรีย์อาจใช้เชื้อจุลินทรีย์หรือวัสดุจากพืชที่เหมาะสมได้เช่นเศษพืชหรือการกลับกองปุ๋ยเพื่อเพิ่มออกซิเจนทั้งนี้จุลินทรีย์ดังกล่าวต้องผ่านการประเมินสามารถใช้ได้กับเกษตรอินทรีย์แล้ว
(4) การใช้สิ่งที่ได้จากการเตรียมทางชีวพลวัตจากหินบดปุ๋ยคอกหรือวัสดุจากพืชซึ่งได้จากการย่อยสลายตามธรรมชาติลงดิน
- ปุ๋ยหมักปุ๋ยมูลค้างคาวเศษซากพืชสามารถใช้เป็นแหล่งธาตุอาหารและปรับปรุงโครงสร้างดิน
- กรณีที่ดินขาดโพแทสเซียมให้ใช้เกลือโพแทสเซียมธรรมชาติและขี้เถ้าถ่าน
- กรณีที่ดินขาดฟอสฟอรัสให้ใช้ปุ๋ยหินฟอสเฟตและกระดูกป่น
- ควรเลี้ยงสัตว์ผสมผสานกับการปลูกพืชเพื่อให้เกิดการใช้ประโยชน์เกื้อกูลกันระหว่างดิน-พืช-สัตว์ใช้เศษพืชผลพลอยได้วัชพืชเป็นอาหารสัตว์หรือปลูกพืชเป็นอาหารสัตว์และหมักมูลสัตว์เป็นปุ๋ยบำรุงดิน
กรณีที่การเลี้ยงสัตว์เพื่อกำจัดวัชพืชเช่นการเลี้ยงเป็ดในนาข้าวการเลี้ยงห่านในสวนไม้ผลในปริมาณที่เหมาะสมเพื่อแทะเล็มวัชพืชอย่างไรก็ตามหากเกษตรกรปลูกพืชอาหารต้องระวังการปนเปื้อนของจุลินทรีย์ก่อโรคจากมูลสัตว์สู่ส่วนที่บริโภคได้ของพืชด้วยควรมีการจัดการที่เหมาะสมเพื่อป้องกันการปนเปื้อน
4. อินทรีย์ปุ๋ยคอกและสารกำจัดศัตรูพืชธรรมชาติและอาหารสัตว์ที่มาจากภายนอกกลุ่มจะต้องได้รู้แหล่งที่มาของวัตถุดิบที่ใช้มีการรับรองจากหน่วยราชการยอมรับหรือกลุ่มสามารถตรวจสอบแหล่งผลิตและเปิดเผยชนิดของวัตถุดิบและชี้แจงแหล่งที่มาได้และได้รับอนุญาตจากกลุ่มแล้วกรณีมูลสัตว์จากฟาร์มที่ไม่ได้รับรองมาตรฐานอินทรีย์ต้องผ่านกระบวนการหมักจนสมบูรณ์ห้ามใช้มูลสัตว์สดกับพืชอาหารที่เสี่ยงต่อการปนเปื้อนจุลินทรีย์ก่อโรคควรนำมาหมักด้วยความร้อนจนเป็นปุ๋ยก่อนหรือใช้มูลแห้ง
5. ห้ามใช้สารเคมีสังเคราะห์ตลอดห่วงโซ่เช่นปุ๋ยเคมียากำจัดศัตรูพืชยาฆ่าหญ้ายาฆ่าเชื้อรายาฆ่าหอยยาแผนปัจจุบันสำหรับสัตว์สารเร่งการเจริญเติบโตและฮอร์โมนสังเคราะห์และสารสังเคราะห์ในกระบวนการแปรรูป
6. การควบคุมหรือการป้องกันกำจัดศัตรูพืชโรคพืชและวัชพืชต้องดำเนินการโดยมาตรการใดมาตรการหนึ่งหรือหลายมาตรการรวมกันดังต่อไปนี้
(1) การเลือกใช้พันธุ์พืชที่เหมาะสมเป็นต้นว่าเหมาะสมกับสภาพภูมิประเทศภูมิอากาศฤดูกาลเช่นพันธุ์ต้านทานโดยเมล็ดพันธุ์ท่อนพันธุ์ส่วนที่ใช้ขยายพันธุ์ควรมาจากระบบการผลิตแบบอินทรีย์ไม่มาจากการดัดแปรพันธุกรรม
(2) การปลูกพืชหมุนเวียนเช่นการปลูกถั่วหลังฤดูทำนาเพื่อเป็นการรักษาระบบนิเวศและการอนุรักษ์แมลงศัตรูธรรมชาติ
(3) การใช้เครื่องมือกลในการเพาะปลูกเป็นต้นว่าเลือกชนิดของเครื่องมือมีความเหมาะสมไม่ทำลายสภาพแวดล้อมและระบบนิเวศในฟาร์มต้องไม่ใช้เครื่องมือกลร่วมกับแปลงที่ไม่ใช่เกษตรอินทรีย์
(4) การอนุรักษ์ศัตรูธรรมชาติของศัตรูพืชเช่นตัวอ่อนของแมลงปอในน้ำแมงมุมและด้วงเต่านาข้าวโดยจัดหาที่อยู่ที่เหมาะสมเช่นแนวรั้วต้นไม้พุ่มเตี้ยและแหล่งอาศัยของนกและสร้างแนวกันชนเพื่อรักษาความหลากหลายทางชีวภาพที่เป็นแหล่งอาศัยของศัตรูธรรมชาติ
(5) ระบบนิเวศเช่นทำพื้นที่ป้องกันการชะล้างของดินเช่นการปลูกพืชคลุมดินการปลูกพืชหมุนเวียนรวมทั้งการจัดสภาพแวดล้อมภายในฟาร์มไม่ให้เหมาะกับโรคและแมลงศัตรูพืชเช่นการตัดหญ้าตัดแต่งพืชเป็นทรงพุ่มให้โปร่ง
(6) การใช้ศัตรูธรรมชาติหรือปล่อยสิ่งมีชีวิตที่ทำลายศัตรูพืชเช่นตัวน้ำตัวเบียนซึ่งเป็นการควบคุมโดยวิธีธรรมชาติตัวอย่างเช่นใช้แมลงปอกินตัวอ่อนของเพลี้ยกระโดดตัวอย่างแมลงอื่น ได้แก่ แมลงปอเข็มมวนเพชฌฆาตด้วงเต่าลายมวนจิงโจ้น้ำแตนเบียนและแมลงหางหนีบ
(7) ใช้สิ่งที่ได้จากการเตรียมทางชีวพลวัตจากหินบดจากปุ๋ยคอกหรือจากวัสดุจากพืชเพื่อเป็นการเพิ่มความต้านทานโรคและความอุดมสมบูรณ์ของดิน
(8) การคลุมหน้าดินเพื่อควบคุมและป้องกันวัชพืช (ไม่ใช่การไถออก) เช่นการปลูกพืชคลุมดินหรือใช้วัสดุคลุมดินเช่นใบไม้ฟางข้าวและให้จัดการหญ้าด้วยการตัดแต่งไม่ควรใช้วิธีการไถออก
(9) การกำจัดวัชพืชโดยใช้สัตว์เลี้ยงเช่นการเลี้ยงเป็ดในนาข้าวการเลี้ยงห่านในสวนไม้ผลในปริมาณที่เหมาะสมเพื่อแทะเล็มวัชพืชอย่างไรก็ตามหากเกษตรกรปลูกพืชอาหารต้องระวังการปนเปื้อนของจุลินทรีย์ก่อโรคจากมูลสัตว์สู่ส่วนที่บริโภคได้ของพืชด้วย
(10) การควบคุมโดยวิธีกล ได้แก่ ใช้กับดักหรือไฟล่อโดยพิจารณาชนิดความเพียงพอและความเหมาะสมของกับดักการเลือกสีของไฟการใช้เสียงเช่นประทัดปืนแก็ปเพื่อไล่นกและหนูและการถอนวัชพืชด้วยแรงคน
หากกรณีมาตรการข้อ 6 ข้างต้นใช้ป้องกันพืชที่ได้รับความเสียหายอย่างรุนแรงไม่ได้ในปริมาณที่เกิดความเสียหายในระดับเศรษฐกิจให้ใช้สารตามภาคผนวกสารที่ใช้สำหรับควบคุมศัตรูและโรคพืช
7. หากฟาร์มที่ไม่ได้ปรับเปลี่ยนเป็นเกษตรอินทรีย์พร้อมกันทั้งหมดผู้ผลิตสามารถทยอยปรับเปลี่ยนพื้นที่บางส่วนได้ แต่ต้องเป็นพืชต่างชนิดกันหรือต่างพันธุ์ที่แยกแยะความแตกต่างของผลผลิตได้ทั้งการผลิตพืชและสัตว์มีการแบ่งพื้นที่และกระบวนการจัดการให้ชัดเจนและผลผลิตเกษตรอินทรีย์จะต้องไม่ปะปนกันกับผลผลิตจากพื้นที่ที่ไม่ใช่เกษตรอินทรีย์พื้นที่ที่ทำเกษตรอินทรีย์แล้วต้องไม่เปลี่ยนกลับไปทำเกษตรที่ใช้สารเคมีระยะเวลาปรับเปลี่ยนเป็นเวลาอย่างน้อย 12 เดือนทุกประเภทเกษตรกรรมในพื้นที่นับตั้งแต่ผู้ผลิตได้นำข้อกำหนดนี้มาปฏิบัติและสมัครขอรับการรับรองต่อกลุ่ม
การมีข้อกำหนดระยะเวลาการปรับเปลี่ยนนี้เนื่องจากการเปลี่ยนมาทำเกษตรอินทรีย์ต้องมีช่วงระยะเวลาเพียงพอในการฟื้นฟูให้ดินอุดมสมบูรณ์และสามารถสร้างระบบนิเวศน์ที่ยั่งยืนรวมทั้งลดการปนเปื้อนก่อนที่จะได้รับการรับรองเกษตรอินทรีย์
(1) ถ้าฟาร์มที่ไม่ได้ปรับเปลี่ยนเป็นเกษตรอินทรีย์พร้อมกันทั้งหมดผู้ผลิตสามารถทยอยเปลี่ยนพื้นที่บางส่วนได้ แต่ต้องเป็นพืชต่างชนิดกันหรือต่างพันธุ์ที่แยกแยะความแตกต่างของผลผลิตได้มีการแบ่งพื้นที่และกระบวนการจัดการให้ชัดเจนและผลผลิตเกษตรอินทรีย์จะต้องไม่ปะปนกันกับผลผลิตจากพื้นที่ที่ไม่ใช่เกษตรอินทรีย์
(2) พื้นที่ที่ทำเกษตรอินทรีย์แล้วต้องไม่เปลี่ยนกลับไปทำเกษตรที่ใช้สารเคมีดังนั้นเมื่อเกษตรกรเข้าสู่ระบบเกษตรอินทรีย์แล้วจะต้องไม่เปลี่ยนกลับไปทำเกษตรที่ใช้สารเคมีภายในแปลงเดียวกันอีกหากเกษตรกรกลับไปใช้สารเคมีห้ามใช้และ / หรือปรากฏว่ามีหลักฐานการใช้สารเคมีสังเคราะห์เพื่อวัตถุประสงค์ต่างๆโดยมีเจตนาปกปิดกลุ่มจะไม่พิจารณาให้การรับรองอีกต่อไป
8. เครื่องจักรกลและอุปกรณ์ที่ใช้ระบบการผลิตแบบเคมีจะต้องทำความสะอาดก่อนนำมาใช้ในระบบการผลิตแบบอินทรีย์และห้ามใช้เครื่องมือปะปนกันเช่นนำถังฉีดสารเคมีไปใช้บรรจุสารสมุนไพรฉีดพ่นในแปลงอินทรีย์
9. เมล็ดพันธุ์หรือส่วนที่ใช้ขยายพันธุ์ต้องมาจากการผลิตแบบอินทรีย์กรณีไม่มีใช้เมล็ดพันธุ์ทั่วไปไม่คลุกสารเคมีหรือล้างก่อนนำไปปลูกห้ามใช้เมล็ดพันธุ์ GMO และการฉายรังสี
เมล็ดพันธุ์เมล็ดพันธุ์พืชปุ๋ยสดหรือส่วนที่ใช้ขยายพันธุ์ต้องไม่คลุกสารเคมีหากหาไม่ได้ต้องมีวิธีการกำจัดอย่างเหมาะสมผู้ผลิตต้องใช้เมล็ดพันธุ์หรือส่วนที่ใช้ขยายพันธุ์เช่นท่อนพันธุ์หัวหน่อจากระบบการผลิตแบบอินทรีย์ยกเว้นในกรณีที่แสดงให้เห็นว่าไม่สามารถจัดหาเมล็ดพันธุ์หรือส่วนที่ใช้ขยายพันธุ์จากระบบการผลิตแบบอินทรีย์อนุโลมให้ใช้จากแหล่งทั่วไปโดยใช้จากแหล่งทั่วไปโดยควรใช้เมล็ดพันธุ์หรือส่วนที่ใช้ขยายพันธุ์ที่ต้านทานศัตรูพืชและต้อง
ไม่เป็นเมล็ดพันธุ์หรือส่วนที่ใช้ขยายพันธุ์ที่ได้จากการดัดแปรพันธุกรรมและไม่ผ่านการใช้สารเคมีหากมีการใช้สารเคมีต้องมีการกำจัดสารเคมีออกอย่างเหมาะสมก่อนนำไปใช้และกลุ่มต้องยอมรับเมล็ดพันธุ์หรือส่วนที่ใช้ขยายพันธุ์ห้ามใช้เทคโนโลยีตัดแปรพันธุกรรมและการฉายรังสีเช่นเมล็ดพันธุ์ที่เสี่ยงข้าวโพดอาหารสัตว์ถั่วเหลืองนำเข้า
10. ถุงและภาชนะที่บรรจุผลผลิตที่เก็บเกี่ยวแล้วจะต้องสะอาดไม่ใช้ภาชนะที่บรรจุผลผลิตปนกับผลผลิตแบบเคมีห้ามใช้กระสอบปุ๋ยเคมีในแปลงผลิตแบบอินทรีย์
11. ห้ามเผาทำลายเศษพืชอินทรียวัตถุโดยไม่จำเป็นยกเว้นการทำเฉพาะจุดเพื่อทำลายศัตรูพืชศัตรูสัตว์เท่านั้น
12. การนำผลผลิตเกษตรอินทรีย์มาแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ต้องมีส่วนประกอบจากการผลิตแบบอินทรีย์ไม่น้อยกว่า 70% และต้องคำนึงถึงสุขอนามัยสะอาดปลอดภัยต่อสุขภาพของผู้บริโภคเอส
13. ผู้ผลิตต้องผ่านการตรวจสอบความเข้าใจต่อมาตรฐานเกษตรอินทรีย์พีจีปฏิบัติตามข้อกำหนดตามการผลิตตามมาตรฐานเกษตรอินทรีย์ฉบับนี้อย่างเคร่งครัดจดบันทึกการผลิตและผ่านการตรวจประเมินแปลงผลิต